ประกาศ ด่วนที่สุด

บัดนี้พระมนตรีได้ลาสิกขาแล้ว อันเนื่องจากโกงเงินวัดไปประมาณ 1 ล้านกว่าบาท หากท่านใดพบเจอที่ใหนขอให้แจ้งความจับ นาย มนตรี ได้เลย และโทรมาแจ้งผู้ใหญ่บ้าน หรือ สภอ.สะเมิง ด่วนที่สุด
ประกาศ ณ วันที่ 15 มีนาคม 2554

อานิสงส์การสร้างพระบรมธาตุเจดีย์และการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

อานิสงส์การสร้างพระบรมธาตุเจดีย์และการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ เขียนโดย พระตะวัน ปัญญาวชิโร (คัมภีร์ขุททกนิกาย อปทาน และคัมภีร์มังคลัตถทีปนีแปล เล่ม ๑) เป็นที่รักของภรรยาหรือสามี เป็นเศรษฐีทุกชาติไป ภยันตรายใดๆ ไม่แพ้วพาน มียศบริวารพร้อมพรัก เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ ผิวพรรณผุดผ่องใสดั่งทองคำ เป็นผู้นำของปวงชน กุศลได้เกิดเป็นพระราชา จะบรรลุอภิญญาทั้งหก ปิดประตูนรกโลกันต์ ประตูสวรรค์ทุกชั้นเปิด บังเกิดเป็นจอมเทวดา สมความปรารถนาทุกประการ ------------------------------- อานิสงส์การสร้างเจดีย์ จากหนังสือพุทธมงคลอานิสงส์ บัดนี้จักว่าด้วยอานิสงส์การสร้างพระเจดีย์ ครั้งเมื่ออดีตกาลผ่านมาแล้ว๙๔กัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระสิทธัตถะ ทรงประกาศพระศาสดาตลอดจนพระชนมายุจึงได้เสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน ชาวเมืองทั้งหลายก็พากันก่อพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ ยังมีบุรุษผู้หนึ่งมีจิตศรัทธาได้น้อมนำมาซึ่งปูนก้อนหนึ่งใส่ลงในระหว่างอิฐที่ก่อนั้น อันมาภพนี้ทำบุญเพียงแค่นั้น ท่านได้เสวยสมบัติอยู่ในมนุษย์และเทพยดาตลอดกาลนานสิ้น ๙๔ กัป มิได้บังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ ครั้นมาถึงศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรานี้ ก็ได้บังเกิดในตระกูลที่เลื่อมใสในพระศาสนา ครั้นอายุเจริญวัยขึ้นมาก็ได้ออกบวชในพระพทธศาสนา ขวนขวายเจริญวิปัสสนาก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทประหารชำระสันดานให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ท่านจึงได้เปล่งอุทานว่า "บุคคลใดมีจิตเลื่อมใส ได้กระทำการสักการบูชาสิ่งอันควรบูชา มีองค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น พร้อมทั้งปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระทศพล ย่อมมีอานิสงส์ที่จะนับประมาณมิได้ ส่งผลให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง" โดยนัยที่วิสัชนามานี้แล

อานิสงส์การสร้างเจดีย์

บัดนี้จักว่าด้วยอานิสงส์การสร้างพระเจดีย์ ครั้งเมื่ออดีตกาลผ่านมาแล้ว ๙๔ กัป มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระสิทธัตถะ ทรงประกาศพระศาสนาจนตลอดพระชนมายุจึงได้เสด็จดับขันธ์เข้าสู่พระปรินิพพาน ชาวเมืองทั้งหลายก็พากันก่อพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธองค์ ยังมีบุรุษผู้หนึ่งมีจิตศรัทธาได้น้อมนำมาซึ่งปูนก้อนหนึ่งใส่ลงในระหว่างอิฐที่ก่อนั้น อันมาณพนี้ทำบุญเพียงแค่นั้น ครั้นทำลายเบญจขันธ์สิ้นชีพ ด้วยอำนาจแห่งกุศลนั้น ท่านได้เสวยสมบัติอยู่ในมนุษย์และเทพยดาตลอดกาลนานสิ้น ๙๔ กัป มิได้ไปบังเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ ครั้นมาถึงศาสนาแห่งพระพุทธเจ้าของเรานี้ ก็ได้บังเกิดในตระกูลที่เลื่อมใสในพระศาสนา ครั้นอายุเจริญวัยขึ้นมาก็ได้ออกบวชในพระพุทธศาสนา ขวนขวายเจริญวิปัสสนาก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ตัดกิเลสเป็นสมุทเฉทประหารชำระสันดานให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ท่านจึงได้เปล่งอุทานว่า "บุคคลใดมีจิตเลื่อมใส ได้กระทำการสักการบูชาสิ่งอันควรบูชา มีองค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น พร้อมทั้งปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทศพล ย่อมมีอานิสงส์จะนับประมาณมิได้ ส่งผลให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง" โดยนัยที่วิสัชนามานี้แล อานิสงส์การสร้างพระเจดีย์..... การสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ หรืออัฐิธาตุของบุคคลที่ควรบูชาได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิเป็นการสร้างมงคลให้กับตนเองอย่างสูงสุด เมื่อตายไปย่อมสูสุขคติโลกสวรรค์ ย่อมได้ดวงตาเห็นธรรม และบรรลุมรรคผลนิพพานโดยง่าย การมีส่วนร่วมสร้างพระเจดีย์จะมากหรือน้อย ถ้าทำด้วยความเลื่อมใสก็ย่อมได้รับอานิสงส์มากมาย ดังตัวอย่างจากพระไตรปิฎก สุตตันตปิฎกในมังคลัตถทีปนี ว่าด้วยการบูชา ดังนี้…….. "พระสุธาปิณฑิยเถระพระเถระรูปนี้ในชาติก่อนมีใจเลื่อมใส ได้ใส่ก้อนปูนขาวในระหว่างแผ่นอิฐซึ่ง ประชาชนกำลังก่ออิฐสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ ด้วยอำนาจแห่งบุญนั้นได้บันดาลให้ท่านได้ไปเกิดในสวรรค์และโลกมนุษย์ถึง 94 กัปป์" ……….. พระมหากัสสปเถระ ยังได้กล่าวถึงประวัติและผลบุญแห่งการสร้างพุทธเจดีย์ของท่านไว้ดังนี้ ในครั้งที่พระพุทธเจ้ามีนามว่าปทุมมุตตระ พระองค์ได้ปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้ชักชวนหมู่ญาติมิตรและประชาชนให้มาร่วมกันสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อบูชาพระพุทธเจ้ากันเถิด ทุกคนมีจิตเลื่อมใสปิติอิ่มเอมใจจึงได้ช่วยกันสร้างเจดีย์สูงค่าเสร็จลงด้วยความเรียบร้อย เจดีย์สูงร้อยศอก สร้างปราสาทห้าร้อยศอกสูงตระหง่านจรดท้องฟ้า ทุกคนมีจิตปิติเบิกบานในอานิสงส์ผลบุญที่ได้พากันทำไว้ เมื่อท่านตายไปแล้วได้ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่บนยานทิพย์เทียวด้วยม้าสินธพพันตัววิมานของท่านสูงตระหง่านเจ็ดชั้น มีปราสาทหนึ่งพันองค์ ซึ่งสร้างด้วยทองคำศาลาหน้ามุขสร้างด้วยแก้วมณี ส่องแสงสว่างเจิดจ้าไปทั่วสารทิศ ทั้งยังมีอำนาจเหนือเทวดาทั้งปวง เมื่อลงมาเกิดในโลกมนุษย์ในกัปป์ที่หกหมื่นในภัทรกัปป์นี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ครอบครองอาณาเขตไปถึง 4 ทวีป มีแก้วแหวนเงินทองมากมาย ประชาชนมีความสุขสำราญเหมือนดั่งบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งท่านเป็นอย่างนี้ถึง 33 ครั้ง ทั้งหมดเกิดจากผลบุญที่ได้ทำไว้จากการสร้างเจดีย์ และชาติสุดท้ายได้มาเกิดในสกุลพราหมณ์ที่ร่ำรวย แต่สละทรัพย์ออกบวชจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ผู้เลิศด้วยปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และอภิญญา 6 การสร้างเจดีย์มีอานิสงส์มากมายเกินกว่าจะพรรณนา การได้มาซึ่งโอกาสพิเศษที่จะสร้างเจดีย์ขนาดใหญ่ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น นับเรื่องที่กระทำได้ยากยิ่ง…….

ประวัติวัดแสนตอง โดยคุณ นิทัศน์

ประวัติวัดแสนตอง : จากบันทึกใบลานของวัด วัดแสนตอง สร้างเมื่อ พ.ศ.1300 โดยหม่องอูหน่า ชาวไทยใหญ่ ได้อพยพพร้อมด้วยบริวาร จากเมืองตวน เมืองหาง ประเทศพม่า มาตั้งถิ่นฐานที่ริมแม่น้ำสะเมิง ประชากรทั้งหมดต่างมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา หม่องอูหน่าจึงคิดจะสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน จึงขอบริจาคปัจจัยจากชาวบ้าน ชาวบ้านจึงร่วมกันบริจาคเครื่องประดับที่นำติดตัวมา ส่วนมากเป็นทองคำ เมื่อได้ทองคำ (หรือ “ ตอง” ในภาษาเหนือ) แล้วจึงนำมาชั่ง รวมแล้วได้หนึ่งแสนพอดี ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด “แสนตอง” นั่นเอง เมื่อดำเนินการสร้างวัดแล้ว ได้นำเอาทองคำหลอมหล่อเป็นพระประธานในวิหาร ส่วนเครื่องประดับที่เหลือก็มาหลอมรวมกัน แล้วนำมาหล่อเป็นพุทธรูปปางต่าง ๆ เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะมีประเพณีประจำวัด คือ ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าแสนตอง โดยยึดเอาวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนเก้าเหนือ (ป๋าเวณีเก้าเป็ง) หรือในช่วงเดือนมิถุนายน และได้ถือเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน พระพุทธรูปในวัดแสนตองได้รับความเคารพบูชาจากประชาชนชาวสะเมิงเป็นอย่างมาก เมื่อถึงประเพณีสงกรานต์ของทุกปี จะมีขบวนแห่พระสิงห์ของวัดแสนตองจากหน้าวัดไป รอบ ๆ ตัวอำเภอ แล้วจะมีพิธีสรงน้ำพระสิงห์ที่หน้าที่ว่าการอำเภอสะเมิง พอมาถึงปี พ.ศ. 2534 พระพุทธรูปถูกขโมยไปจำนวน สี่องค์ แต่คนร้ายไม่สามารถนำไปทั้งหมด ได้นำไปทิ้งที่หนองน้ำท้ายตลาดสดเทศบาลตำบลสะเมิงใต้ จำนวนสององค์ และอีกหลายครั้งที่มีคนพยายามจะขโมยพระ แต่ด้วยปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูปจึงไม่สามารถนำไปได้ หลังจากนั้นจึงทำกรงเหล็กล้อมไว้เพื่อความปลอดภัย เมื่อปี พ.ศ.2539 มีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้นำพระธาตุของพระสีวลีมาถวายที่วัดแสนตองจำนวน 5 องค์ ต่อมาปรากฎว่ามีจำนวนพระธาตุเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆ และนอกจากนั้นพระธาตุที่เสด็จมาเองล้วนเป็นอรหันตธาตุทั้งสิ้น จนถึงทุกวันนี้ก็ยังปรากฎให้เห็นว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ปีพุทธศักราช 2546 ได้รับเมตตาจากท่านครูบาบุญยัง เจ้าอาวาสวัดห้วยน้ำอุ่นอำเภอลี้ ลำพูน ได้นำพระบรมธาตุมาถวายไว้ที่วัดแสนตอง เมื่อต้นเดือนมีนาคม พ.ศ 2552 หลังจากการประชุมเพลิงพระอธิการอ้าย จัตตสังวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดแสนตองแล้ว พระมนตรี รตนปุตโต รักษาการเจ้าอาวาส พร้อมกับคณะศรัทธาวัดแสนตอง จึงได้มีความเห็นที่จะสร้างพระธาตุ ชื่อ " พระธาตุก๊ำปาระมีเด่นสลี๋แสนตอง ” เพื่อใช้บรรจุพระบรมธาตุและพระอรหันตธาตุ และเพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนในโอกาสต่อไป

แบบแปลนพระธาตุ

รับบริจาคเพื่อสมทบทุน

วัดแสนตองขอเชิญญาติโยมผู้มีจิตศัทธา
ร่วมบริจาคเงินสมทบทุนจัดสร้างพระธาตุก๊ำปารมีเด่นสลี๋แสนตอง
โดยโอนเงินในนาม "วัดแสนตอง"ธนาคาร ธกส.สาขาสะเมิง
เลขที่ 691-2-56611-5 บัญชีออมทรัพย์
หรือชื่อบัญชี พระมนตรี พรหมจารีย์รตนปุตโต และนายวสันต์บุญยืน
บัญชีเลขที่ 544-0-15021-6 ธนาคารกรุงเทพ สาขาสะเมิง บัญชีออมทรัพย์

ประวัติวัดแสนตอง

ประวัติวัดแสนตอง วัดแสนตอง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ บ้านแสนตอง หมู่ที่ ๙ ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อ ๕ ไร่ ๓ งาน อาณาเขต ทิศเหนือ จดที่ธรณีสงฆ์ของวัด ทิศใต้ จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันออก จดทางสาธารณประโยชน์ ทิศตะวันตก จดที่เอกชน วัดแสนตอง สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๓๐๐ (สันนิษฐานจากบันทึกใบลานของวัดแสนตอง)โดยหม่องอูหน่า ชาวไทยใหญ่ ได้อพยพพร้อมด้วยบริวาร จากเมืองตวน เมืองหาง ประเทศพม่า มาตั้งถิ่นฐานที่ริมแม่น้ำสะเมิง ในสมัยนั้นยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินและป่าสงวน ใครจะอยู่ที่ไหนตามใจชอบเมื่อตั้งตั้งถิ่นฐาน ณ ที่นั้นมีประชากรเพิ่มมากขึ้น และประชากรทั้งหมดต่างมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา หม่องอูหน่าจึงคิดจะสร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน จึงขอบริจาคปัจจัยจากชาวบ้าน แต่เนื่องด้วยสมัยนั้นเป็นสังคมเกษตรกรรมจึงไม่มีปัจจัยมากพอที่จะสร้างวัดได้ ชาวบ้านจึงร่วมกันบริจาคเครื่องประดับที่นำติดตัวมา ส่วนมากเป็นทองคำ เมื่อได้ทองคำ หรือ “ตอง” ในภาษาเหนือแล้วจึงนำมาชั่ง ในสมัยนั้นมีเครื่องชั่งอยู่ชนิดหนึ่งมีลักษณะสั้นกว่าเครื่องชั่งในปัจจุบัน ในเครื่องชั่งนั้นจะมีอยู่สิบขีด (ไม่ทราบหน่วย) เมื่อชั่งได้สิบขีดจะเท่ากับหนึ่งพัน ชาวบ้านจึงช่วยกันชั่งทองคำจนหมด รวมแล้วได้หนึ่งแสนพอดี ซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด “แสนตอง” นั่นเอง เมื่อดำเนินการสร้างวัดแล้ว ได้นำเอาทองคำหลอมหล่อเป็นพระประธานในวิหาร ส่วนเครื่องประดับที่เหลือก็มาหลอมรวมกัน แล้วนำมาหล่อเป็นและพุทธรูปปางต่าง ๆ มีขนาดตั้งแต่ หนึ่งนิ้ว ไปจนถึงสามสิบนิ้ว โดยเฉพาะขนานหนึ่งนิ้วมีเป็นจำนวนมาก เมื่อเสร็จแล้วชาวบ้านจึงเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะมีประเพณีประจำวัด คือ ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าแสนตอง โดยยึดเอาวันขึ้นสิบห้าค่ำเดือนเก้าเหนือ (ป๋าเวณีเก้าเป็ง) หรือในช่วงเดือนมิถุนายน และได้ถือเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน เมื่องานสรงน้ำพระเสร็จลง สามเณรจะมีหน้าที่เก็บพระพุทธรูปเข้าเก็บไว้ที่เดิม สมัยนั้นเล่ากันว่า เณรน้อยจะนำพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ มาใช้แทนเงินในการเล่นขายของ ต่อมาพระพุทธรูปองค์เล็ก ๆ เหล่านั้นค่อยหายไปทีละองค์สององค์ พระพุทธรูปในวัดแสนตองได้รับความเคารพบูชาจากประชาชนชาวสะเมิงเป็นอย่างมาก เมื่อถึงประเพณีสงกรานต์ของทุกปี จะมีขบวนแห่พระสิงห์ของวัดแสนตองจากหน้าวัดไป รอบ ๆ ตัวอำเภอ แล้วจะมีพิธีสรงน้ำพระสิงห์ที่หน้าที่ว่าการอำเภอสะเมิง พอมาถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๔ พระพุทธรูปถูกขโมยไปจำนวน สี่องค์ แต่คนร้ายไม่สามารถนำไปทั้งหมด ได้นำไปทิ้งที่หนองน้ำท้ายตลาดสดเทศบาลตำบลสะเมิงใต้ จำนวนสององค์ และอีกหลายครั้งที่มีคนพยายามจะขโมยพระ แต่ด้วยปาฏิหาริย์ของพระพุทธรูปจึงไม่สามารถนำไปได้ หลังจากนั้นจึงทำกรงเหล็กล้อมไว้เพื่อความปลอดภัย เจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม รูปที่๑ ครูบาม่อน รูปที่๒ ครูบาโปธิ รูปที่๓ ครูบาปัญญา รูปที่๔ พระบุญปั๋น รูปที่๕ พระต๋าคำ รูปที่๖ พระอิ่นแก้ว (พ.ศ.๒๔๘๙ – พ.ศ.๒๔๙๖) รูปที่๗ พระบุญสม จิตฺธมฺโม (พ.ศ.๒๔๙๗ – พ.ศ.๒๕๐๐) รูปที่๘ พระบุญปั๋น พุทฺธสโร (พ.ศ.๒๕๐๑ – พ.ศ.๒๕๑๐) รูปที่๙ พระสมุห์ศรีรัตน์ จนฺทธมฺโม (พ.ศ.๒๕๑๑ - ๒๕๒๖) รูปที่๑๐ พระติ๊บ (พ.ศ.๒๕๒๘ - ๒๕๒๙) รูปที่๑๑ พระณรวย (พ.ศ.๒๕๓๐) รูปที่๑๒ พระอธิการอ้าย จตฺตสงฺวโร (พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๕๑) รูปที่๑๓ พระมนตรี รตนปุตฺโต (พ.ศ.๒๕๕๑ – ปัจจุบัน)
เมื่อปี พ.ศ.2539 มีพระธุดงค์รูปหนึ่งได้นำพระธาตุของพระสีวลีมาถวายที่วัดแสนตองจำนวน 5 องค์ต่อมาปรากฎว่ามีจำนวนพระธาตุเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆและนอกจากนั้นพระธาตุที่เสด็จมาเองล้วนเป็นอรหันธาตุทั้งสิ้นจนถึงทุกวันนี้ก็ยังปรากฎให้เห็นว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ปีพุทธศักราช 2546 ได้รับเมตตาจากท่านครูบาบุญยัง เจ้าอาวาสวัดห้วยน้ำอุ่นอำเภอลี้ ลำพูน ได้นำพระบรมธาตุมาถวายไว้ที่วัดแสนตอง และต้นเดือนมีนาคม พ.ศ 2552 หลังจากการประชุมเพลิงพระอธิการอ้าย จัตตสังวโร อดีตเจ้าอาวาสวัดแสนตอง พระมนตรี รตนปุตโต รักษาการเจ้าอาวาส พร้อมกับคณะศรัทธาวัดแสนตองจึงได้มีความเห็นที่จะสร้างพระธาตุชื่อ "พระธาตุก๊ำปาระมีเด่นสลี้แสนตอง" เพื่อใช้บรรจุพระบรมธาตุและพระอรหันธาตุ และเพื่อให้เป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนชนในโอกาสต่อไป